วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องตวง (Measurement, Scoop)

รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้
คงจะเคยได้ยินและจำกันได้บ้างนะครับ กับการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนที่มีมาตรการตวงปรากฏอยู่ในบทดังกล่าว ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงมาตรการชั่งของไทยแบบโบราณรวมถึงอุปกรณ์ที่เป็น
ตาชั่ง เครื่องชั่ง และกิโลโบราณมาแล้ว (ซึ่งก็ได้ปรับปรุงข้อมูลมาแล้วประมาณสองสามครั้ง)
สำหรับในวันนี้ จะขอกล่าวถึงมาตรการตวงและอุปกรณ์การตวงโบราณที่สะสมไว้ในช่วงระยะหนึ่ง (ซึ่งก็จะพยายามหามาเพิ่มเติมตามแต่กำลังทรัพย์ที่พอจะมีครับ)
มาตรการตวง1ของไทยโบราณ
150 เมล็ดข้าว เป็น หยิบมือ
หยิบมือ เป็น กำมือ
กำมือ เป็น ฟายมือ
ฟายมือ เป็น กอบ
กอบ เป็น ทะนาน 
25 ทะนาน เป็น สัด
80 สัด เป็น เกวียน

ในอีกแบบหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
150 เมล็ดข้าว เป็น ใจมือ
ใจมือ เป็น กำมือ
กำมือ เป็น จังวอน
จังวอน เป็น แล่ง
แล่ง เป็น ทะนาน
20 ทะนาน เป็น ถัง
50 ถัง เป็น บั้น
บั้น เป็น เกวียน

หมายเหตุ : หากเทียบกับมาตราเมตริกซ์ ทะนาน จะมีค่าเท่ากับ ลิตร

             จากด้านบน พบข้อสังเกตว่า 25 ทะนานเป็น 1 สัด และในอีกแบบที่กล่าวไว้ว่า 20 ทะนาน เป็น 1 ถัง นั้นแสดงว่าถังเก็บข้าวที่มีใช้อยู่จะมีขนาดไม่เท่ากัน (นั่นคือ 1 สัดจะมากกว่า 1 ถังอยู่ 5 ลิตร) ซึ่งสอดคล้องกับกลอนนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ตอนหนึ่ง ที่นำคำว่าถังกับสัดไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ยุติธรรมว่า2

                     “จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
                       จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาคร

สาเหตุที่หน่วยทั้งสองไม่เท่ากัน ก็อาจจะมาจากความคลาดเคลื่อนของขนาดภาชนะที่ใช้ ซึ่งหาได้จากสิ่งรอบตัวที่มีขนาดไม่เท่ากันนั่นเอง
มาตราการตวงหน่วยหลวง
ถ้าอ้างถึงพระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 (รัชกาลที่ 6) มาตรา 13 ข้อ 2 วิธีประเพณี โดยระบุว่า นามอัตรา และ อักษรย่อ ตามลำดับ
·         เกวียนหลวง ให้เท่ากับ สองพันลิตร (กว.)
·         บั้นหลวง ให้เท่ากับ พันลิตร (บ.)
·         สัดหลวง ให้เท่ากับ ยี่สิบลิตร (ส.)
·         ทนานหลวง ให้เท่ากับ หนึ่งลิตร (ท.)
(ทนาน เขียนตามที่ปรากฏใช้ในพระราชบัญญัตินี้ ปัจจุบัน พจนานุกรมใช้ ทะนาน)
หน่วยโบราณอื่นๆ ที่มีขนาดน้อยกว่าทะนาน เป็นการวัดโดยประมาณ เช่น
·         4 กำมือ (มุฏฐิ) = 1 ฟายมือ (กุฑวะ)
·         2 ฟายมือ = 1 กอบ (ปัตถะ)
·         2 กอบ = 1 ทะนาน (นาฬี หรือ นาลี) เป็นต้น
หมายเหตุ ขนาด ฟายมือ” คือ เต็มอุ้งมือ หรือ เต็มฝ่ามือที่ห่อเข้าไป
หากจะหาปริมาตรตามหน่วยโบราณเทียบกับหน่วยหลวง อาจคิดย้อนจาก
·         1 หยิบมือ = 150 เมล็ดข้าวเปลือก
·         4 หยิบมือ = 1 กำมือ = 600 เมล็ดข้าวเปลือก
·         4 กำมือ = 1 ฟายมือ = 2,400 เมล็ดข้าวเปลือก
·         2 ฟายมือ = 1 กอบมือ = 4,800 เมล็ดข้าวเปลือก
·         4 กอบมือ = 1 ทะนาน = 19,200 เมล็ดข้าวเปลือก
·         20 ทะนาน = 1 สัด = 384,000 เมล็ดข้าวเปลือก
·         50 สัด = 1 บั้น = 19,200,000 เมล็ดข้าวเปลือก
·         2 บั้น = 1 เกวียน หรือ 100 ถัง = 38,400,000 เมล็ดข้าวเปลือก
โดยเอาปริมาตรเมล็ดข้าวเปลือกเป็นเกณฑ์ (ไม่ทราบว่าเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ใดที่โบราณใช้)
นอกจากนี้ในท้องถิ่นแต่ละแห่งก็อาจจะมีมาตรการตวง (รวมถึงเครื่องตวง) ที่แตกต่างออกไป เช่นที่แม่ฮ่องสอน3 จะมีเครื่องตวง (แจ่แหล่) ที่ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยขูดผิวให้สะอาดเป็นมัน ภาชนะที่เรียกว่า ก๊อกแป่ และข้องควายก็ใช้สำหรับตวงเช่นกัน ภาชนะดังกล่าวสานด้วยไม้ไผ่ หวาย ทำขอบด้วยเหล็ก ทองเหลือง หรือไม้เถา ทาด้วยรัก เพื่อให้ทนทาน ส่วนในการตวง เป็นจอ จะใช้ในกรณีที่ต้องการตวงข้าวสารเป็นจำนวนมาก (1 จอ = 20 ควาย)
มาตรด้านล่างต่อไปนี้ จะเปรียบเทียบ4ให้เห็นความสัมพันธ์ของหน่วยตวงแบบต่างๆที่นิยมใช้สำหรับงานต่างๆเช่น ในงานปิโตรเคมี สำหรับการตวงเหล้า การตวงยา และอาหาร2 เป็นต้น
1 cc                                      = 1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร
ลิตร                                   = 1000 cc
ลูกบาศก์ เมตร                   = 1000 ลิตร
แกลลอน(อังกฤษ)             = 4.546 ลิตร
แกลลอน(อเมริกา)              = 3.785 ลิตร
บาร์เรล                                = 42 แกลลอน
1 บาร์เรล (US)                       = 159 ลิตร
ตัน (ระวางเรือ)                    = 42 ลูกบาศก์ หลา
ถ้วยตวง                              = 8 ออนซ์ (Fluid oz.)
ออนซ์ (Fluid oz.)               = 2 ช้อนโต๊ะ (ช.ต.)
ออนซ์ (Fluid oz.)               = 30 มิลลิลิตร 
ควอต                                  = 32 ออนซ์
เพค                                     = 8 ควอต
บุเชล                                   = 4 เพค
ช้อนโต๊ะ                              = ช้อนชา (ช.ช.) 
ช้อนโต๊ะ                              = 15 มิลลิลิตร 
ช้อนชา                                = มิลลิลิตร

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณเจ้าของเนื้อหาที่ข้าพเจ้าได้นำมาเผยแพร่ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมและให้ข้อคิดเห็นครับ
1มาตราโบราณของไทย* ที่หมดความสำคัญลงไป. *บุญหนา สอนใจ สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิง วิเคราะห์ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2523.หน้า 288-230. 
อ้างจาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=chemengfight&topic=533
2มาตราตวง. อ้างจาก http://th.wikipedia.org/wiki 
3ภูมิปัญญาชาวบ้าน.อ้างจากhttp://www.moohin.com/about-thailand/oldcity/maehongson15.shtml
4มาตราชั่งตวงวัดที่น่ารู้.อ้างจาก http://siripaula.multiply.com/journal/item/3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น