วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องวัด

รื่องนี้ต้องการกล่าวถึงหน่วยการวัดและเครื่องมือวัดที่นอกเหนือจากการ “ชั่ง” และ “ตวง” ที่กล่าวมาแล้ว (ความจริงการชั่งคือการวัดมวลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าน้ำหนัก ส่วนการตวงคือการวัดปริมาตรนั่นเอง)
ในการวัดปริมาณ (ปริมาณทางฟิสิกส์หรือแปลเป็นไทยว่าปริมาณทางกายภาพ) มีอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม แต่สำหรับการวัดพื้นฐานที่มีมาไม่ว่าชาติใดข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเริ่ม
จากการวัดระยะทาง น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาเพราะเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุด
๑. วิวัฒนาการของหน่วยการวัด
หน่วยและระบบการวัดมีวิวัฒนาการดังนี้
๑.  ระบบอิมพีเรียล (Imperial Systemหน่วยอังกฤษ (English Units หรือ Imperial Units) เริ่มจากหน่วยในการวัดระยะทาง – น้ำหนัก – เวลา (ฟุต – ปอนด์ – วินาที) หลังจากนั้นจึงมีหน่วยตัน แกลลอน ไมล์และอื่นๆตามมา
๒.  ระบบเมตริก(Metric System) หน่วยเมตริก เป็นหน่วยที่ใช้เลขทศนิยมเป็นฐานในการบอกค่าหน่วยความยาว  (เมตร) และมวล (กิโลกรัม) ใช้หน่วยไม่มากเหมือนกับของอังกฤษ (หน่วยระยะของอังกฤษจะมี ฟุต นิ้ว หลา และอื่นๆ) หน่วยเมตริกใช้วิธีการเลื่อนทศนิยม เช่น มิลลิเมตร (๑/๑,๐๐๐ เมตร) กิโลเมตร (๑,๐๐๐ เมตร) เป็นต้น
๓.  ระบบหน่วยมาตรฐานนานาชาติ (International System of Units)เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบันนี้ พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๐ จากหน่วย MKS (เมตร – กิโลกรัม – วินาที) แต่มีหน่วยอุณหภูมิ (คือ เคลวิน) เพิ่มเข้ามาอีกเป็น ๔ หน่วยพื้นฐานสำหรับการวัดปริมาณฟิสิกส์พื้นฐาน
ในที่นี้จะยกตัวอย่างหน่วยการวัดปริมาณเพียง ๒ อย่าง คือ หน่วยวัดระยะและหน่วยวัดพื้นที่
๒. หน่วยวัดระยะ
หน่วยการวัดระยะของไทยในอดีต
หน่วยวัดระยะ/ความยาวของไทยพัฒนาการมาจากการใช้สิ่งแวดล้อมและร่างกายในการวัด เช่น
๘ ปรมาณู       เป็น     ๑ อณู
๕ อณู            เป็น     ๑ ธุลี
๘ ธุลี             เป็น     ๑ เส้นผม
๘ เส้นผม       เป็น     ๑ ไข่เหา
๘ ไข่เหา        เป็น     ๑ ตัวเหา
๘ ตัวเหา        เป็น     ๑ เม็ดข้าว
๘ เม็ดข้าว      เป็น     ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว           เป็น     ๑ คืบ
๒ คืบ             เป็น     ๑ ศอก
๔ ศอก                    เป็น     ๑ วา
๒๐ วา           เป็น     ๑ เส้น
๔๐๐ เส้น       เป็น     ๑ โยชน์
เปรียบเทียบหน่วยวัดระยะของไทยกับหน่วยต่างๆ
๒ ศอก         ประมาณ        ๑ เมตร
๒๔ เส้น       ประมาณ        ๑ กิโลเมตร
๔๐ เส้น       ประมาณ        ๑ ไมล์ (๑.๖ กม.)
หน่วยการวัดระยะตามมาตรฐานอังกฤษและเมตริก
หน่วยเมตริก (ไม่ใช่หน่วยเอสไอ)

เมตร
1.0936
0.9144
เมตร
เมตร
39.37

0.0254
เมตร
1เซนติเมตร
0.3937

2.54
เซนติเมตร
0.03937

25.4
มิลลิเมตร
เมตร

1 Ångström
1×10−10
เมตร
นาโนเมตร
10
Ångström

1 Ångström
100
พิโกเมตร
(Ångström อ่านว่าแองสตรอม)
ขยายความหน่วยวัดแบบอังกฤษ
๑ นิ้ว              = ๒.๕๔ เซนติเมตร
๑ ฟุต             = ๑๒ นิ้ว
๑ หลา          = ๓ ฟุต
๑ ไมล์           = ๑,๗๖๐ หลา
๓. หน่วยวัดพื้นที่
หน่วยวัดพื้นที่ของไทยและเมตริก
๑ งาน ๑๐๐ ตารางวา  ๔๐๐ ตารางเมตร
๔ งาน ๑ ไร่ ๔๐๐ ตารางวา ๑,๖๐๐ ตารางเมตร ๐.๔ เอเคอร์
๑ ตร.กิโลเมตร ๖๒๕ ไร่
หน่วยวัดพื้นที่ของเมตริก
๑ อาร์ (Are)           = ๑๐๐ ตร.เมตร
๑๐๐ อาร์               = ๑๐๐ แฮคทาร์ (Hectare)
๑ เอเคอร์ (Acre)     = ๔,๘๔๐ ตร.หลา
วิธีนับปกติสังขยา (Cardinals) ตามภาษาบาลี คือ เมื่อตัวเลขหรือการนับมีจำนวนมากขึ้นก็จะนำจำนวนตัวเลขมาต่อกันโดยใช้ศัพท์คือ อุตตรและ อธิกเป็นตัวเชื่อม ที่สำคัญการนับหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่าสังขยานั้นใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขเช่นเลข 1 ภาษาบาลีใช้คำว่า "เอก"มีดังนี้
เอก                   ๑              
ทฺวิ
                    ๒           
ติ
                      ๓                                   
จตุ
                    ๔                      
ปญฺจ
                 ๕                          
                      ๖                  
สตฺต
                  ๗          
อฏฺ
                  ๘       
นว
                    ๙                         
ทส
                   ๑๐                             
สตํ
                   ๑๐๐
สหสฺสํ
               ๑,๐๐๐
ทสสหสฺสํ
           ๑๐,๐๐๐
สตสหสฺสํ
ลกฺขํ   ๑๐๐,๐๐๐
ทสสตสหสฺสํ
       ๑,๐๐๐,๐๐๐ 
โกฏิ
                 โกฏิ
วิธีการนับตัวเลขดังกล่าวนี้ใช้กับการนับเวลา เช่น
๑๐ ปี เรียกว่า ๑ ทศวรรษ (Decade)
๑๐๐ ปี เรียกว่า ๑ ศตวรรษ (Century)
๑,๐๐๐ ปี ๑ สหัสวรรษ (Millennium)
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงความรู้อันน้อยนิดเกี่ยวกับเรื่องของการวัด เพราะการวัดตัวแปรต่างๆที่กล่าวมา มีเพียงแค่เรื่องของระยะและพื้นที่รวมถึงวิธีการนับเวลาโดยการนำภาษาบาลีมาเรียก ทั้งนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงหน่วยและการวัดตัวแปรอื่นๆที่มีในโลกซึ่งมนุษย์สามารถวัดได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็ว พลังงาน ความหนาแน่น ความเข้มของกรด-ด่าง ฯลฯ เป็นต้น
จากเรื่องนี้อาจจะกล่าวได้ว่าไม่ว่าเราจะวัดสิ่งต่างๆได้ละเอียดเพียงใดก็เป็นเพียงทางกายภาพและไม่ใช่ของจริงแท้ เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นอยู่กับนิยามที่ผู้สร้างตั้งขึ้น ในทางกลับกัน แม้ว่ามนุษย์จะสร้างเครื่องมือวัดที่สามารถวัดค่าต่างๆได้ละเอียดและเที่ยงตรงมากขึ้นเท่าใด แต่หากจิตใจของผู้สร้างและผู้ใช้หยาบลงและขาดความเที่ยงตรงทางคุณธรรมแล้วก็ไร้ความหมาย และสุดท้ายเราไม่ต้องทำการวัดสิ่งใด ให้ลองสังเกตมิติของตัวเรา มิติของตัวเราเองจะมีขนาดเพียง “กว้างศอก ยาววา หนาคืบ” เท่านั้นเองจริงๆครับ ๕๕๕ 
(ปล. สำหรับผม “สะสมเพื่อว่างเปล่า” ครับ)

ขอขอบคุณ
 http://en.wikipedia.org/wiki/Measurement
 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94
๓ http://en.wikipedia.org/wiki/Metre
 กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ, เล่มที่ 7.กรุงเทพ ฯ : กรมการศาสนา, 2525.
พระพุทธโฆสาจารย์
สมนฺตปาสาทิกาพิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
พระมหานิยม อุตฺตโม. หลักสูตรย่อบาลีไวยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง
, 2523.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. บาลีไวยากรณ์(สังขยา). พิมพ์ครั้งที่ 48
, กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2547. อ้างจาก http://cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view= article&id=217:2010-07-30-09-31-21&catid=11:2010-06-17-02-44-14&Itemid=23  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น