วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องชั่ง ตาชั่ง (a scale, a balance)

อะกาฬิโกคลาสสิก (Aghaligo Classic) พิพิธภัณฑ์เล็กๆของข้าพเจ้า

มีสุภาษิตอันหนึ่งที่พูดไว้เกี่ยวข้องกับเรื่องตาชั่ง ซึ่งได้จากการไปพูดคุยกับแม่ค้ารับซื้อของเก่า ท่านบอกว่าเป็นสุภาษิตจีน กล่าวว่า "ถ้าเรามีตาชั่งต่อไปนี้จะไม่ยากจน ชั่งเงิน ชั่งทอง ชั่งไม้บอง (ท่อนไม้)
๑๒ ตาชั่ง" เราจะไม่จน
     

หากย้อนกลับไปคืนวันเก่าๆ หลายท่านคงมีความทรงจำบางอย่างที่ติดตาติดใจใน อดีตไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง เพื่อให้หวนนึกถึงวันนั้น วันนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอของสะสมเก่าๆที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์เล็กๆของข้าพเจ้า (ซึ่งยังไม่มีที่ตั้งเป็นทางการ) เป็นเรื่องราวของอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ชั่ง ตวง วัด" ครับ แต่ก่อนจะดูตาชั่งที่สะสมไว้ ลองมาดูถึงหน่วยหรือมาตราวัดของระบบการชั่งของไทยกันก่อน

มาตรา “ชั่ง” โบราณของไทยเมื่อเทียบกับเมตริก1

๒ อัฐ
=
๑ ไพ
=
.๔๖๘ กรัม
๔ ไพ
=
๑ เฟื้อง
=
.๘๗๕ กรัม
๒ เฟื้อง
=
๑ สลึง
=
.๗๕ กรัม
๔ สลึง
=
๑ บาท
=
๑๕ กรัม
๔ บาท
=
๑ ตำลึง
=
๖๐ กรัม
๒๐ ตำลึง
=
๑ ชั่ง
=
.๒ กิโลกรัม
๕๐ ชั่ง
=
๑ หาบ
=
๖๐ กิโลกรัม

หมายเหตุ : ปัจจุบันหน่วยเมตริกไม่ค่อยนิยมใช้ แต่หันมาใช้หน่วย “SI” ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานนานาชาติแทน

นอกจากนี้ จากก็ยังมีผลงานอมตะของพระสิริมังคลาจารย์คือ “สังขยาปกาสกฎีกา” ที่มีอายุเกือบห้าร้อยปีมาแล้ว2 ซึ่งมีเพิ่มเติมไปอีกได้แก่

๒ กล่อม ๑ กุเลา

๒ กุเลา ๑ ไพ

ในส่วนของ “ปมาณสังขยา” (มาตราชั่ง) จากผลงานเดียวกันกล่าวไว้ว่า

วีหิ เป็น คุญชา
คุญชา เป็น มาสกะ
มาสกะ เป็น อักขะ
อักขะ เป็น ธรณะ
ธรณะ เป็น สุวัณณะ
สุวัณณะ เป็น นิกขะ
0.4 นิกขะ เป็น ปละ
100 ปละ เป็น ตุลา
20 ตุลา เป็น ภาระ
10 ภาระ เป็น สกฏะ (เกวียน)

หรือในอีกแบบหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า

วีหิ เป็น คุญชา
คุญชา เป็น มาสกะ
2.5 มาสกะ เป็น 1 อักขะ
อักขะ เป็น ธรณะ
10 ธรณะ เป็น ปละ
100 ปละ เป็น ตุลา
20 ตุลา เป็น ภาระ
10 ภาระ เป็น สกฏะ (เกวียน)


จะเห็นว่าหน่วยทั้งหมดนี้ เกิดจากจิตที่ผูกติดกับธรรมะและธรรมชาติ ทำให้สามารถแยกแยะ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้อย่างลึกซึ้งไม่เว้นแต่หน่วยการ “ชั่ง” รวมถึงการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดในตอนต้นที่กล่าวมานี้ก็น่าจะสืบค้นหาให้ลึกลงไปถึงเส้นทางและที่มาเป็นอย่างยิ่ง
     
แต่สุดท้าย ชั่งอะไร ก็ไม่เท่ากับ "ยับยั้ง ชั่งใจ" จริงไหมครับ

ตาชั่งเก่าที่มีที่บ้านชฎา เรือนปฏัก ดูได้จากภาพสไลด์ด้านข้างครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น